"จิตแพทย์ไม่ได้สู้กับความช
ั่วร้าย และคนไข้ก็น่ารักเสมอ"
.
>>มี "คำโปรยของหนังสือเล่มหนึ่ง
" ที่กำลังเป็นประเด็นอย่างมา
กในขณะนี้ เชื่อว่าหลายท่านคงได้เห็นก
ับบ้างแล้ว (อ่านเพิ่มเติมจากเพจของสมา
คมจิตแพทย์) หมอเห็นว่ามีบางประโยคที่อา
จทำให้หลายๆท่านเกิดความเข้
าใจผิด และอาจก่อให้เกิดผลลบต่อกระ
บวนการดูแลทางจิตเวชในไทยได
้ จึงขออธิบาย "ความจริงอีกด้าน" ที่คำโปรยดังกล่าว "ไม่ได้บอกไว้" ไปทีละประเด็นดังนี้คร
ับผม...
.
.
"จิตแพทย์ต้องจดจ่ออยู่กับความชั่วร้าย?"
>> การบำบัดรักษาความไม่สบายของจิตใจ คือหน้าที่ของจิตแพทย์ จิตแพทย์(และบุคลากรทางจิตเวช/จิตวิทยา)ทุกคนไม่เคยมองคนไข้ว่าเป็นความชั่วร้าย "การจดจ่อ"กับเรื่องของคนไข้นั้นมีอยู่จริง แต่เกิดขึ้นในชั่วโมงของการบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ดีที่สุด
.
.
"ค่าจิตบำบัดแพงมหาโหด?"
>>ค่าจิตบำบัดในไทย รวมไปถึงค่าตรวจกับจิตแพทย์ ในโรงพยาบาลรัฐ ในเวลาทำการ หากใช้สิทธิ์บัตรทอง/ประกันสังคมหรือสิทธิ์ใดๆ ถ้ามาตามระบบ/มีใบส่งตัว ก็เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเลย ส่วนในโรงพยาบาลเอกชนหรือรพ.รัฐที่เป็นคลินิกนอกเวลาก็ขึ้นกับอัตราของแต่ละโรงพยาบาลที่กำหนดซึ่งก็อาจจะมากบ้างน้อยบ้างขึ้นกับบริบทของแต่เคสแต่โดยทั่วไปก็อยุ่ในระดับหลักร้อยไปจนถึงหลักพันต้นๆ/ครั้ง
.
.
"จิตแพทย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบทางจิตใจได้"
>> การจะเป็นจิตแพทย์ได้ ต้องจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี แล้วมาต่อเฉพาะทางจิตเวชศาสตร์อีก 3-4 ปี ซึ่งตั้งแต่ช่วงแรกของการเทรน จิตแพทย์ก็ได้รับการสอนความรู้และเทคนิคต่างๆสำหรับการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จิตแพทย์จะต้องมี ก็คือ สิ่งเล็กๆที่เรียกว่า"ความเห็นอกเห็นใจ" (Empathy) โดยต้องระมัดระวังไม่ให้เกิด "การคล้อยตามอารมณ์หรือมีอารมณ์ร่วม" (Sympathy) ยกตัวอย่างให้เข้าใจ เช่น เมื่อคุยกับผู้ป่วยซึมเศร้าEmpathy : เข้าใจ เห็นใจ โดยที่ตัวเองไม่ได้เศร้าตามไปด้วย ส่วนSympathy: เศร้าและจมลึกลงไปด้วยกันกับผู้ป่วย
.
Empathy เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในการที่จะเข้าใจในความรู้สึกของผู้ป่วยโดยที่ไม่มีอารมณ์ร่วมหรือคล้อยตามไปกับความรู้สึกนั้น โดยการรับรู้และขีดเส้น "ขอบเขต"(Boundary) ของการบำบัดที่ชัดเจน รวมทั้งมี "สติ" เพื่อแยกแยะเรื่องของคนไข้ออกจากเรื่องของตนเอง เพราะ"งานก็คืองาน" หลังเลิกงานจิตแพทย์ก็มีชีวิตของแต่ละคนเหมือนคนปกติ หมอก็ไปดูหนัง นั่งฟังเพลง กินข้าวเช้า เข้าวัด ทำบุญ ปล่อยปลา หรือไปเที่ยวเหมือนคนทั่วๆไปครับผม
.
และเอาจริงๆในทางปฏิบัตินั้น การเก็บสะสมอารมณ์ด้านลบจากการบำบัดของจิตแพทย์นั้นเกิดได้ยากทีเดียวครับ สาเหตุส่วนหนึ่งก็เพราะในหนึ่งวันจิตแพทย์ (ไทย) ต้องตรวจคนไข้เป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างหมอเองตรวจครึ่งเช้า 40 -60 ราย แค่ตรวจถึงคนที่ 10 ในหัวก็แทบจะเหลือความทรงจำเกี่ยวกับเคสแรกๆแล้ว (ยกเว้นบางครั้งที่มีเรื่องราวที่โดดเด่นทางเนื้อหาออกมาจริงๆ) (แต่ไม่ต้องห่วงว่าหมอจะลืมเรื่องของคนไข้ เพราะทุกครั้งที่คุยกัน หมอจะมีการบันทึกเรื่องราวและประเด็นสำคัญของคนไข้ไว้เพื่อติดตามเคสเสมอ)
.
.
.
สรุปสั้นๆ : จิตแพทย์ไม่ได้เป็นอาชีพที่อันตรายที่สุดในโลก (พวกเขามีเทคนิคในการจัดการและดูแลตนเองได้ดีในระดับหนึ่ง) จริงอยู่ที่คนไข้จิตเวช(ที่มากมาย)อาจทำให้หมอเหนื่อยกาย แต่ก็ไม่เคยทำให้หมอเหนื่อยใจเลย จิตแพทย์อาจไม่ใช่อาชีพที่ร่ำรวยในเงินทองหรือทรัพย์ แต่ถ้าถามว่า "รวยความสุขจากการได้ช่วยเหลือคนไข้ไหม? หมอคนนึงกล้าตอบว่า "จริง" ครับผม :)
.
.
.
By...คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา
٩(^‿^)۶ [ ]--["""""|"""""|"""""|]>------
www.facebook.com/D2JED