0831222354
0627858738

 

 

 

สาระน่ารู้

บันทึกข้อความ จากวิทยากร ถึงสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย

     ครั้งหนึ่งที่ไปจัด mini workshop 2 ชั่วโมง
ร่วมกับพี่สอง  คุณพงษ์ศักดิ์ จันทร์อ่อน เรื่องสิทธิในการเลือกตั้งของคนพิการ
ในงานสมัชชาใหญ่ ครั้งที่14

ของสมาคมผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย

     ซึ่งมีทั้งเหล่าหมอพยาบาล คนป่วย คนพิการ ฯลฯ
อยู่ในงานสมัชชานั้น ซึ่งความรู้เกี่ยวกับคนพิการ
ทางจิตนั้นผมมีน้อยมาก ซึ่งก็ได้ออกตัวไปก่อน
ที่จะเริ่มต้นการ Workshop ครั้งนั้น

     ในการ Workshop ครั้งนั้นเราเริ่มจากชวนทุกคน
ค้นหาความต้องการพื้นฐานแล้วก็เริ่มค้นหาว่าอะไร
เป็นสาเหตุที่เราไม่สามารถเข้าถึงความต้องการพื้นฐาน

     หลังจากได้คำตอบที่เพียงพอต่อการไปต่อแล้วผม
ก็หยิบคำตอบมาจัดกล่องแยกข้อมูลเพื่ออธิบายเรื่อง
ความเหลื่อมล้ำแนวราบ Horizontal Inequality 
แล้วค่อยตบเชื่อมกับสามเหลี่ยมความรุนแรง

     ในช่วงของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
มีคนเล่าว่าวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 เป็นจุดเปลี่ยนที่
ส่งผลต่ออาการทางจิตของเธอจนกลายเป็นผู้ป่วย
ทางจิตเช่นทุกวันนี้

     ในช่วงของความเหลื่อมล้ำทางสังคมมีคนเล่าว่า
ต้องเสียเงินเสียทองถ่อมาถึงศิริราชถึงจะมีหมอ
ที่เฉพาะทางที่ไว้ใจได้ เพราะแถวบ้านไม่มี

     พอจบช่วงนี้ ผมเริ่มอธิบายว่าความเหลื่อมล้ำทาง
สังคมอันเกิดจากโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆและ
นโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการเข้าถึงบริการที่มี
คุณภาพอย่างทั่วถึง

     บางครั้งคนที่มีโอกาสทางเศรษฐกิจสูงกว่าก็จะ
สามารถชดเชยความเสียหายจากความเหลื่อมล้ำ
ทางสังคมได้ด้วยต้นทุนของตนเอง เฉกเช่นที่
คุณป้าที่ต้องถ่อมาถึงศิริราชสามารถทำได้

      หลังจากนั้นผมก็เริ่มตั้งคำถามว่าอะไรกำหนด
นโยบายสาธารณะ มีคนตอบว่าอำนาจและการเมือง
เลยถามต่อว่านึกถึงการเมืองแล้วนึกถึงอะไร

หลายคนตอบว่า "โกง กิน น่าเบื่อ รำคาญ น่ากลัว"

      หลังจากนั้นผมให้นิยามการเมือง และการมีส่วนร่วม
ทางการเมือง พร้อมกับยกตัวอย่างการเมืองระหว่าง
คนในครอบครัวเวลาตัดสินใจเลือกร้านอาหาร

     หลังจากนั้นขยับมามองว่าเรามีอิทธิพลต่อการคิด
และตัดสินใจเพื่อกำหนดทิศทางของสังคมอย่างไร
และส่งผลต่อนโยบายสาธารณะได้ทางใดบ้าง

    พอเข้าช่วงที่สามผมขมวดปมว่าโอกาสในการได้มี
ส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของกลุ่มหรือสังคม
ในฐานะสมาชิกของกลุ่มหรือสังคมนั้น ความแตกต่าง
ของโอกาสตรงนี้เรียกความเหลื่อมล้ำทางการเมือง

      ซึ่งในช่วงนี้คนปัตตานียกมือเล่าว่าตัวเองเป็นผู้ป่วย
ทางจิตเพราะสงครามในพื้นที่ และการไม่มีส่วนร่วม
ในการกำหนดอนาคตของบ้านเกิดตัวเอง

     ซึ่งในส่วนนี้ผมใจร้อนไปหน่อยเลยฉายสไลด์ถัดไป
เข้าเรื่องความรุนแรงและความเหลื่อมล้ำให้เห็นจุดร่วม
ของสาเหตุของกันและกันในแต่ละส่วน

     แต่ท้ายที่สุดคือผมถามว่าการะเป็นผู้ป่วยทางจิต
มีใครเคยโดนดูถูกเรื่องอะไรบ้าง มีคนยกมือตอบว่า
โดนหาว่าเป็นบ้า จะสมัครงานก็ไม่ให้ทำเพราะคิดว่า
เราทำไม่ได้

     ได้โอกาสจึงสรุปให้เห็นว่าความแตกต่างของโอกาส
ในการได้รับการยอมรับในระบบคุณค่าของสังคม
สิ่งนี้เรียกว่าความเหลื่อมล้ำทางวัฒนธรรม

    ซึ่งจะเห็นได้ว่าส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
อย่างเช่นกรณีที่โดนตัดโอกาสทางอาชีพ ส่งผลต่อ
ความเหลื่อมล้ำทางการเมืองในฐานะของการถูก
ลดทอนการได้ยินเสียงในกระบวนการตัดสินทิศทาง
ของบ้านเกิด

      เมื่อถึงตรงนี้ผมจึงเพิ่งได้เริ่มเข้าเรื่องว่าการเมือง
และการมีส่วนร่วมทางการเมืองส่งผลต่อชีวิตเรา
อย่างไร และวิธีได้บ้างที่เราจะเข้าไปมีส่วนร่วมทาง
การเมืองได้

     มาถึงตรงนี้เวลาส่วนของผมหมดลงแล้วจึงสรุป
แบบรวบรัดว่า ทางเลือกในการมีส่วนร่วมทางการเมือง
มีสองหมวดใหญ่ที่อยากชวนถกคือ

การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยใช้ความรุนแรง หรือ
การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยไม่ใช้ความรุนแรง

       ด้วยเวลาที่จำกัดผมก็รวบรัดสรุปอีกนั่นแหละว่าการ
ไม่ใช้ความรุนแรงเป็นทางในการสร้างสรรค์สังคมที่
เราอยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไป มากกว่าสังคมที่ใช้
ความรุนแรงในการกำหนดทิศทางอนาคต
(ซึ่งเสียดายที่ไม่ได้แลกเปลี่ยนในส่วนนี้)

และรีบตัดจบว่าการเลือกตั้งเป็นวิธีหนึ่งที่จะนำ
มาสู่กระบวนการสร้างการตัดสินใจของสมาชิกใน
กลุ่ม/สังคม ที่ทุกคนที่ถูกนับเป็นสมาชิกในสังคม
จะมีส่วมร่วมในกระบวนการเปลี่ยนผ่านอำนาจ
ทางการเมือง แต่กฎหมายการเลือกตั้งอาจมีแนวโน้มในการตีความ 

ที่ลิดรอนโอกาสทางการเมืองของผู้ป่วย / คนพิการ
ทางจิตไปโดยปริยาย เพราะกรรมการประจำหน่วย
อาจขาดความเข้าใจเรื่อง อาการทางจิต

       หลังจากนั้นก็เป็นช่วงของพี่สองจาก Anfrel
ที่เริ่มอธิบายกรณีศึกษาในต่างประเทศที่แม้แต่
พม่า อินโดฯ ปากีฯ ฟิลิปปินส์ ก็มีความพยายาม
ในการส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิการเลือกตั้งของ
คนพิการยิ่งกว่าประเทศไทย 

      โดยที่แทบไม่ต้องพูดถึงฝั่งยุโรปเลยด้วยซ้ำ
เอาประเทศที่ GDP ต่ำกว่าเราเป็นตัววัดก็ยัง
เห็นว่าไม่ต้องรอประเทศรวยก็ส่งเสริมสิทธิได้

บางที่มีหน่วยเลือกตั้งเคลื่อนที่ถึงข้างเตียงใน
โรงพยาบาล บางที่มีไปบริการถึงในเรือนจำ

สิ่งที่เราชวนทุกท่านทำต่อจากวันนั้นมีสองเรื่อง

1.การยื่นให้ผู้มีอำนาจตีความกฎหมายให้ชัดเจน
ว่าคำว่า "วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ"
ครอบคลุมถึงคนพิการทางจิตในแง่ใดบ้าง

2.เสนอให้มีหลักสูตรการฝึกอบรมเรื่องความพิการ
ให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่มีเกือบล้านคน
ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเนื้อหาเกี่ยวกับทางจิต

(ขอบันทึกเหตุการณ์ไว้เพิ่มเติม)
จากผู้เข้าร่วมเกือบ700มีคนที่ยกมือว่าตัวเองก็เป็น
กปน.เกือบ 40% จึงทำให้เกิดบรรยากาศที่ปกป้อง
หน่วยงานอยู่บ้างเวลาที่ผู้ป่วยทางจิตแลกเปลี่ยน
และบ่นเรื่องการที่อาจถูกกีดกันในช่วงเลือกตั้ง

แต่โดยสรุปแล้วเราไม่ได้กำลังหาคนผิดแต่กำลัง
หาคนที่จะลุกขึ้นมาพิทักษ์สิทธิพื้นฐานของตัวเอง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  Facebook : Chuveath Dethdittharak